Overview

PROGRAM GOALS, EDUCATIONAL OBJECTIVES AND STUDENT OUTCOMES

– หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมีเทคนิค

GOALS

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเคมีเทคนิค จัดการเรียนการสอนโดยเน้นองค์ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและการวิจัยเพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถนำความรู้เชิงลึกไปพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการในอุตสาหกรรมเคมีหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง มีคุณธรรม จริยธรรม แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง มีความคิดริเริ่ม และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม

EDUCATIONAL OBJECTIVES

  1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ขั้นสูงในศาสตร์ทางเคมีเทคนิค ซึ่งเป็นศาสตร์ผสมผสานระหว่างความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเคมี ตลอดจนมีความสามารถในการวิจัยที่เชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีไปสู่ภาคปฏิบัติ สามารถประยุกต์วิทยาการในอุตสาหกรรมตามกาลและสภาพการณ์ของประเทศ
  2. เพื่อสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถเสริมสร้างความรู้ทางเคมีเทคนิคและช่วยแก้ปัญหาทางด้านกระบวนการและผลผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้
  3. เพื่อพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม


STUDENT OUTCOMES
  1. มีความรู้และสามารถประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เคมีและวิศวกรรมเคมีขั้นสูงเพื่อตอบปัญหา สร้างความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับกระบวนการเคมีหรือกระบวนการที่เกี่ยวข้อง
  2. มีความรู้และสามารถจัดการงานวิจัยและการทำงานกับกระบวนการเคมีอย่างปลอดภัย สามารถออกแบบการวิจัย วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตามระเบียบวิธีวิจัย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแนวคิดเชิงวิชาการและการประยุกต์
  3. ปรับปรุงและออกแบบระบบ องค์ประกอบ และกระบวนการ รวมทั้งดำเนินการหน่วยปฏิบัติการให้ได้ตามความต้องการใช้งาน ภายใต้ข้อจำกัดทางกายภาพ เศรษฐศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม
  4. มีความสามารถในการวางแผน ทำงานได้ด้วยตนเองและร่วมกับผู้อื่นทั้งภายในศาสตร์และแบบสหศาสตร์ ตลอดจนแสดงภาวะผู้นำในกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
  5. สามารถระบุโจทย์วิจัย สร้างกระบวนการเพื่อนำไปสู่คำตอบโดยอาศัยกลไกการคิดแบบสร้างสรรค์ และความคิดเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบด้วยมุมมองที่เป็นองค์รวม
  6. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในการดำรงชีวิต เป็นผู้มีระเบียบวินัย เคารพในกฏกติกาสังคม ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม
  7. มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษด้านการอ่านและเขียน มีทักษะการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานทั้งในเวทีวิชาการและเวทีบุคคลทั่วไป โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
  8. มีความรู้กว้างและตระหนักถึงผลกระทบของงานทางวิศวกรรมต่อสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน สามารถเผยแพร่สู่สังคมได้
  9. ยอมรับ/ตระหนักถึงความจำเป็น/และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกต้อง
  10. ใฝ่หาความรู้ที่ทันสมัยให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของวิชาชีพ องค์กรที่ตนสังกัด บริบทไทยและบริบทโลก
  11. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เครื่องมือวิเคราะห์ เทคนิคทางคณิตศาสตร์ เพื่อการศึกษาวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ
  12. จัดการและบริหารโครงการและคุณภาพได้ รวมทั้งประเมินและบริหารความเสี่ยงได้


– หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเชื้อเพลิง

GOALS

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีเชื้อเพลิงจัดการเรียนการสอนโดยเน้นองค์ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและการวิจัยเพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถนำความรู้เชิงลึกไปพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการในอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงและพลังงาน มีคุณธรรม จริยธรรม แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง มีความคิดริเริ่ม และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม

EDUCATIONAL OBJECTIVES

  1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ขั้นสูงในศาสตร์ทางเทคโนโลยีเชื้อเพลิงและพลังงาน ซึ่งเป็นศาสตร์ผสมผสานระหว่างความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเชื้อเพลิง ตลอดจนมีความสามารถในการวิจัยที่เชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีไปสู่ภาคปฏิบัติ สามารถประยุกต์วิทยาการในอุตสาหกรรมตามกาลและสภาพการณ์ของประเทศ
  2. เพื่อสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถเสริมสร้างความรู้ทางเทคโนโลยีเชื้อเพลิงและพลังงานและช่วยแก้ปัญหาทางด้านกระบวนการและผลผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้
  3. เพื่อพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม

STUDENT OUTCOMES
  1. มีความรู้และสามารถจัดการงานวิจัยและการทำงานกับกระบวนการเคมีอย่างปลอดภัย สามารถออกแบบการวิจัย วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตามระเบียบวิธีวิจัย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแนวคิดเชิงวิชาการและการประยุกต์
  2. ปรับปรุงและออกแบบระบบ องค์ประกอบ และกระบวนการ รวมทั้งดำเนินการหน่วยปฏิบัติการ
  3. ให้ได้ตามความต้องการใช้งาน ภายใต้ข้อจำกัดทางกายภาพ เศรษฐศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม 
  4. มีความสามารถในการวางแผน ทำงานได้ด้วยตนเองและร่วมกับผู้อื่นทั้งภายในศาสตร์และแบบ    สหศาสตร์ ตลอดจนแสดงภาวะผู้นำในกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
  5. สามารถระบุโจทย์วิจัย สร้างกระบวนการเพื่อนำไปสู่คำตอบโดยอาศัยกลไกการคิดแบบสร้างสรรค์ และความคิดเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบด้วยมุมมองที่เป็นองค์รวม
  6. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในการดำรงชีวิต เป็นผู้มีระเบียบวินัย เคารพในกฏกติกาสังคม ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม
  7. มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษด้านการอ่านและเขียน มีทักษะการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานทั้งในเวทีวิชาการและเวทีบุคคลทั่วไปโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
  8. มีความรู้กว้างขวางเพียงพอและตระหนักถึงผลกระทบของงานทางวิศวกรรมต่อสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
  9. ยอมรับ/ตระหนักถึงความจำเป็น/และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  10. ใฝ่หาความรู้ที่ทันสมัยให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของวิชาชีพ องค์กรที่ตนสังกัด บริบทไทยและบริบทโลก
  11. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เครื่องมือวิเคราะห์ เทคนิคทางคณิตศาสตร์ เพื่อการศึกษาวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ
  12. จัดการและบริหารโครงการและคุณภาพได้ รวมทั้งประเมินและบริหารความเสี่ยงได้

– หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีเทคนิค

GOALS

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาเคมีเทคนิค จัดการเรียนการสอนโดยเน้นองค์ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและการวิจัยเพื่อผลิตบัณฑิตที่ได้มาตรฐานสากลและสามารถสร้างความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการในอุตสาหกรรมเคมีหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง มีคุณธรรม จริยธรรม แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง มีความคิดริเริ่ม และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม

EDUCATIONAL OBJECTIVES

  1. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่สามารถสร้างความรู้ขั้นสูงในศาสตร์ทางเคมีเทคนิค ซึ่งเป็นศาสตร์ผสมผสานระหว่างความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเคมี ตลอดจนมีความสามารถในการวิจัยที่เชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีไปสู่ภาคปฏิบัติ สามารถประยุกต์วิทยาการในอุตสาหกรรมตามกาลและสภาพการณ์ของประเทศ
  2. เพื่อสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับนานาชาติ ซึ่งสามารถเสริมสร้างความรู้ทางเคมีเทคนิคและช่วยแก้ปัญหาทางด้านกระบวนการและผลผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้
  3. เพื่อพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม


STUDENT OUTCOMES
  1. สามารถขยายขอบเขตความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ โดยสร้างนวัตกรรมหรือพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับกระบวนการเคมีหรือกระบวนการที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงการยอมรับของสังคมและมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  2. มีความรู้และสามารถจัดการงานวิจัยและการทำงานกับกระบวนการเคมีอย่างปลอดภัย สามารถออกแบบการวิจัย วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตามระเบียบวิธีวิจัย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแนวคิดเชิงวิชาการและการประยุกต์
  3. ปรับปรุงและออกแบบระบบ องค์ประกอบ และกระบวนการ และดำเนินการหน่วยปฏิบัติการให้ได้ตามความต้องการใช้งาน ภายใต้ข้อจำกัดทางกายภาพ เศรษฐศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม
  4. มีความสามารถในการวางแผน ทำงานได้ด้วยตนเองและร่วมกับผู้อื่นทั้งภายในศาสตร์และแบบสหศาสตร์ ตลอดจนแสดงภาวะผู้นำในกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
  5. สามารถระบุโจทย์วิจัย สร้างกระบวนการเพื่อนำไปสู่คำตอบโดยอาศัยกลไกการคิดแบบสร้างสรรค์ และความคิดเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบด้วยมุมมองที่เป็นองค์รวม
  6. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในการดำรงชีวิต เป็นผู้มีระเบียบวินัย เคารพในกฏกติกาสังคม ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม
  7. มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษด้านการอ่านและเขียนในระดับดี มีทักษะการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานทั้งในเวทีวิชาการและเวทีบุคคลทั่วไปในระดับดีโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
  8. มีความรู้กว้างและตระหนักถึงผลกระทบของงานทางวิศวกรรมต่อสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน สามารถเผยแพร่สู่สังคมได้
  9. ยอมรับ/ตระหนักถึงความจำเป็น/และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตโดยใช้สารสนเทศที่ถูกต้อง
  10. ใฝ่หาความรู้ที่ทันสมัยให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของวิชาชีพ องค์กรที่ตนสังกัด บริบทไทยและบริบทโลก
  11. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เครื่องมือวิเคราะห์ เทคนิคทางคณิตศาสตร์ เพื่อการศึกษาวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ
  12. จัดการและบริหารโครงการและคุณภาพ รวมทั้งประเมินและบริหารความเสี่ยงได้