FAQ

คำถามที่พบบ่อย

คำถาม: สามารถพบอาจารย์ ได้ที่ไหน เมื่อไหร่?

คำตอบ: ให้ดูตารางเวลาของอาจารย์แต่ละท่านที่บอร์ดหน้าห้องทำงานของอาจารย์ โดยอาจารย์ได้ระบุวิธี/สถานที่และเวลาที่สะดวกให้ติดต่อ รวมทั้ง office hours ไว้แล้ว


คำถาม: เครื่องมือเสียจะต้องเขียนแบบฟอร์มอะไรบ้าง?

คำตอบ: นิสิตแจ้งให้เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเครื่องมือรับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นทันทีที่เกิดความเสียหายหรือความบกพร่อง โดยเขียนแบบฟอร์มแจ้งความบกพร่องของเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ScFM-CT-04-001-D แล้วให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการต่อ โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มจากเว็บไซต์ภาควิชาฯ


คำถาม: จะยืมเครื่องมือภายนอกภาควิชา จะต้องทำหนังสือแบบไหนส่ง?

คำตอบ:

ทั้งนี้ นิสิตสามารถแจ้งรายละเอียดการใช้เครื่องมือและหน่วยงานที่ต้องการไปใช้เครื่องมือให้เจ้าหน้าที่สำนักงานภาควิชาเคมีเทคนิคออกบันทึกข้อความหรือจดหมายดังกล่าวให้นิสิตได้


คำถาม: บุคคลภายนอกภาควิชามาขอใช้เครื่องมือ จะต้องติดต่อใครและส่งเอกสารอะไรบ้าง?

คำตอบ: กรุณาตรวจสอบชนิดเครื่องมือที่เว็บไซต์ภาควิชาฯ เพื่อดูรายละเอียดของเครื่องมือที่นักวิทยาศาสตร์แต่ละคนดูแล รวมทั้ง ข้อมูลการติดต่อ โดยขอให้ติดต่อเพื่อทราบว่าเครื่องมือพร้อมใช้งานหรือไม่ กรณีเครื่องมือพร้อมใช้งานให้ทำบันทึกข้อความถึงหัวหน้าภาควิชาเคมีเทคนิคเพื่อขอความอนุเคราะห์และส่งมายังภาควิชาฯ เพื่อดำเนินการต่อไป


คำถาม: รายละเอียดที่ต้องระบุบนใบเสร็จสำหรับเบิกเงินจากภาควิชา มีอะไรบ้าง?

คำตอบ: ดูรายละเอียดบน Website ภาควิชาฯ โดยใบเสร็จต่างๆ ที่จะเบิกเงินจากภาควิชาจะต้องระบุรายละเอียดสำคัญต่างๆ ดังนี้ ชื่อลูกค้า, ที่อยู่ลูกค้า, วันที่ใบกำกับภาษี, รายละเอียดสินค้า, ปริมาณ, หน่วย, ราคาต่อหน่วย, จำนวนเงิน, รวมเงิน, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, รวมเงินทั้งสิ้น, ผู้รับเงิน, ผู้รับสินค้า และผู้ส่งสินค้า


คำถาม: ที่ส่งงานของวิชาต่างๆ อยู่ที่ไหนบ้าง?

คำตอบ: กรุณาสอบถามและนัดแนะวัน เวลา และ สถานที่ส่งงานกับอาจารย์ผู้สอนหรือนักวิทย์หรือผู้ช่วยสอนในรายวิชานั้น ๆ เพื่อความเข้าใจตรงกันในสถานที่ส่งงาน สำหรับรายวิชาที่อาจารย์ผู้สอนให้นิสิตส่งงานได้ที่ช่องรับเอกสารของอาจารย์ให้นิสิตนำมาใส่ในช่องรับเอกสารของอาจารย์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในสำนักงานภาควิชาฯ


คำถาม: นิสิตจะไปนำเสนอที่ประชุมวิชาการ จะต้องส่งเอกสารอะไรบ้าง?

คำตอบ: แบบตอบรับการเข้าร่วมประชุม/บทคัดย่อ/บทความ ส่งไปยังหน่วยงานที่จัดการประชุม / แบบฟอร์มนิสิตไปนำเสนอผลงานวิจัยใน-ต่างประเทศ (new): RP-R-04 ส่งที่สำนักงานภาควิชาฯ (สำหรับนิสิตรับทุนศูนย์ PETROMAT) โดยดาวน์โหลดแบบฟอร์มดังกล่าวได้ที่ http://www.petromat.org/home/download/


คำถาม: อยากยืมอุปกรณ์ เครื่องแก้ว ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์(เครื่องมือ) ต้องทำอย่างไรบ้าง ?

คำตอบ:

–  อุปกรณ์ เครื่องแก้ว

  1. การขอเบิกอุปกรณ์ เครื่องแก้ว : ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดูแลห้องปฏิบัติการพร้อมส่งแบบเบิกอุปกรณ์ ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการ (ScFM-CT-04-005-C) ที่เขียนรายการขอเบิกเรียบร้อยแล้ว โดยที่ถ้าเป็นอุปกรณ์ เครื่องแก้ว ราคาน้อยกว่า 10,000 บาท (หน้าที่ 1) สามารถยื่นขอเบิกได้เลย แต่ถ้าเป็นอุปกรณ์ เครื่องแก้ว ราคามากกว่า 10,000 บาท (หน้าที่ 2) ต้องผ่านการพิจารณาของอาจารย์ที่ปรึกษาพร้อมลงลายมือชื่อ
  2. การรับอุปกรณ์ ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ :
    • กรณีที่ 1 เจ้าหน้าที่สามารถจัดหาอุปกรณ์ เครื่องแก้วได้ทันที สามารถรับอุปกรณ์ เครื่องแก้วในเวลานั้นได้
    • กรณีที่ 2 เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์ เครื่องแก้วได้ทันที จะนัดให้มารับอุปกรณ์ เครื่องแก้วอีกครั้ง
    • เมื่อได้รับอุปกรณ์ เครื่องแก้ว ตรวจสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่ชำรุด โดยที่เครื่องแก้วต้องไม่มีรอยแตก ร้าว บิ่น
  3. การคืนอุปกรณ์ เครื่องแก้ว : นำอุปกรณ์ เครื่องแก้วส่งคืนกลับเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการที่ขอเบิก โดยอุปกรณ์ เครื่องแก้วต้องมีสภาพเดียวกับตอนรับไป หากเกิดความชำรุดเสียหายต้องหามาทดแทนในสภาพเดิม
  4. งดเบิกยืม-คืนอุปกรณ์ ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ เครื่องแก้วในวันที่มีการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการ

–  ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์

  1. การขอเบิกครุภัณฑ์ประจำห้อง : ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดูห้องปฏิบัติการ/วิจัยที่ต้องการขอเบิกครุภัณฑ์
  2. ตรวจสอบครุภัณฑ์ที่ได้รับให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่ชำรุด พร้อมทดสอบการทำงานของเครื่อง
  3. การคืนครุภัณฑ์ : ส่งคืนกลับเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการ/วิจัยที่ขอเบิก โดยครุภัณฑ์ต้องมีสภาพเดียวกับตอนรับไป หากเกิดความชำรุดเสียหายต้องหามาทดแทนในสภาพเดิม

คำถาม: จะเริ่มเข้าทำวิจัย ในห้องปฏิบัติการ/วิจัย ต้องทำอย่างไร ?

คำตอบ:

  • นิสิต/นักวิจัยต้องผ่านการอบรมดับเพลิง และปฐมพยาบาลเบื้องต้น
  • นิสิต/นักวิจัยต้องผ่านการอบรมความปลอดภัยทางเคมี
  • นิสิต/นักวิจัยกรอกแบบเอกสารแบบประเมินความเสี่ยงและความพร้อมพร้อมก่อนเริ่มก่อนเริ่มดำเนินการวิจัย ScFM-CT-04-003-A พร้อมทั้งแนบสำเนาใบประกาศผ่านการอบรมความปลอดภัยทางเคมี และ SDS ของสารเคมีที่ใช้ ในกรณีที่มีการสร้างหรือประกอบเครื่องมือเพื่อการวิจัยให้นิสิตแนบแบบเอกสารกำกับเครื่องมือวิจัย SCFM-CT-04-003-B แล้วส่งให้เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ/วิจัย ตรวจสอบความถูกต้อง พร้อมตอบข้อซักถามตามแบบประเมิน เมื่อผ่านแล้วนำไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยลงลายมือชื่อ
  • นิสิต/นักวิจัย ต้องเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ/วิจัย ที่จะเข้าใช้งาน และการซ้อมรับมือตามแผนตอบโต้เหตุฉุกเฉิน

คำถาม: จะจองใช้เครื่องมือวิเคราะห์/ทดสอบ ต้องทำอย่างไร?

คำตอบ: *** นิสิตต้องผ่านการใช้งานเครื่องครั้งแรกกับเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเครื่องมือวิเคราะห์แล้วเท่านั้นถึงจะสามารถจองขอใช้ทางเว็บไซต์ได้ ***

  1. เข้าไปที่ http://www.chemtech.sc.chula.ac.th/
  2. คลิกเลือกเครื่องที่ต้องการทำการจอง
  3. คลิกเลือกวันที่ที่ต้องการจองใช้งาน 
  4. ระบุเวลาที่จะใช้งาน ชื่อ-นามสกุลผู้จองใช้งาน และรหัสนิสิต:
  5. เสร็จแล้วให้ทำการ log out ออกทุกครั้ง

หมายเหตุ*** ต้องจองเครื่องมือล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันทำการ และก่อน 15.00 น. ของวันจอง นิสิตที่จองแล้วไม่มาใช้ตามกำหนดเวลา แสดงว่าสละสิทธิการใช้ในวันนั้นทางเจ้าหน้าที่จะพิจารณาให้นิสิตคนอื่น ๆ ใช้งานทันที


คำถาม: อยากค้นหาสารเคมีที่ต้องการในภาควิชาทำอย่างไร?

คำตอบ: นิสิตที่ต้องการค้นหาสารเคมีที่ต้องการภายในภาควิชาฯ วิธีการใช้งานฐานข้อมูล Chemtrack

    • ใส่ชื่อ user name และ password เข้าฐานข้อมูลให้เหมือนกับที่ระบุไว้ ในคอลัมน์ด้านซ้ายมือจากนั้นกดตกลง
    • เมื่อเข้าสู่โปรแกรมฐานข้อมูล Chemtrackแล้ว
      • เลือกเมนูคลังสารเคมี
      • เลือกค้นหาสถานที่มีสารเคมีในหน่วยงาน
      • เมื่อปรากฏหน้าต่างการค้นหา ให้ใส่หมายเลข Chemtrack ID (กรณีที่ทราบ) กด Enter
        • กรณีไม่ทราบหมายเลข ID ให้คลิกที่ปุ่มขวามือของช่องรหัสสาร แล้วระบุชื่อสารที่ต้องการค้นหาเป็น ภาษาอังกฤษ(ไม่ต้องใส่ครบทุกคำก็ได้)แล้วกด Enter จากนั้นเลือกชื่อสารที่ต้องการค้นหาแล้ว กดปุ่มตกลง
      • ถ้ามีรายการสารปรากฏให้เห็นที่หน้าต่างค้นหาสถานที่ฯแสดงว่ามีสารนั้นอยู่ในภาควิชา ซึ่งจะบอกรายละเอียดของสถานที่เก็บและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกปุ่มรายละเอียดผลิตภัณฑ์
      • หากต้องการเบิกสารเคมีให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดูแลห้องปฏิบัติการ/วิจัยนั้นๆ

    ถ้านิสิตค้นหาแล้วไม่พบว่ามีในภาควิชาและต้องการทราบว่ามีที่ภาควิชาอื่นหรือไม่ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์ทุกท่าน


คำถาม: นิสิตจะค้นหาครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ที่ต้องการใช้ หรือยืม ได้จากที่ไหนบ้าง?

คำตอบ: นิสิตสามารถตรวจสอบชื่อเครื่องมือที่ต้องการ จากรายการเครื่องมือของแต่ละห้องปฏิบัติการ/วิจัย (ScSD……) และสามารถดูได้บางส่วนบนเว็บไซต์ของภาควิชา


คำถาม: เมื่อพบเครื่องมือเสีย/บกพร่อง ต้องทำอย่างไร?

คำตอบ: นิสิตแจ้งให้เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการหรือเจ้าหน้าที่รับผิดชอบเครื่องมือรับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานเครื่องมือดังกล่าวทันทีที่เกิดความบกพร่อง พร้อมเขียนแบบฟอร์ม ScFM-CT-04-001-D แล้วให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการต่อ


คำถาม: ลืม user name หรือ password ทำให้ไม่สามารถ log in เข้าใช้งานคอมพิวเตอร์ในห้องเทคโนโลยีสารสนเทศ (ห้องคอมพ์) ของภาควิชาได้ ต้องดำเนินการอย่างไร (กรณีเคยขอ user name และ password แล้ว)

คำตอบ:

  • ให้นิสิตกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มที่เตรียมไว้ให้ที่โต๊ะทำงานเจ้าหน้าที่ ในห้องเทคโนโลยี (ห้องคอมพ์)
  • เจ้าหน้า (คุณสุพจน์) จะดำเนินการแก้ไขให้ พร้อมเขียนแจ้งรายละเอียดการแก้ไขและสถานะการแก้ไขไว้ในแบบฟอร์ม (ปกติจะใช้เวลาไม่เกิน 3 วันทำการ)
  • ให้นิสิตตรวจสอบสถานะการแก้ไข ถ้าเสร็จแล้วสามารถใช้งานได้ทันที โดย password ที่แก้ไขแล้วให้พิมพ์เหมือนกับ user name แล้วระบบจะแจ้งให้นิสิตเปลี่ยน password อีกครั้ง
  • ถ้ายังไม่สามารถใช้งานได้อีก ให้ติดต่อคุณสุพจน์ ที่ห้องทำงาน G04 (ฝั่งตรงข้ามกับสำนักงานภาควิชา)

คำถาม: นิสิตมีความต้องการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องเทคโนโลยีสารสนเทศ (ห้องคอมพ์) ของภาควิชาสำหรับใช้งานทั่วไป หรือใช้ในการเรียนการสอน (กรณียังไม่มี user account)

คำตอบ:

  • ให้นิสิตรับ “แบบการขอใช้เครื่องคอมพิวเตอร์” (ScFM-CT-05-001-C) ได้ที่สำนักงานภาควิชา
  • เมื่ออ่านและยอมรับระเบียบการใช้ห้องคอมพิวเตอร์แล้ว ให้นิสิตกรอกข้อมูลที่ส่วนของใบยอมรับกติกาฯ ในแบบการขอใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ให้ครบถ้วนและชัดเจน (ห้ามกรอก user name หรือ password ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเป็นคนกำหนดให้)
  • ยื่นแบบที่กรอกรายละเอียดแล้วที่สำนักงานภาควิชา หรือใส่ไว้ในช่องจดหมายของคุณสุพจน์ อีกครั้ง
  • เจ้าหน้าที่จะดำเนินการจัดทำ user account ให้ ภายใน 1 สัปดาห์
  • หลังจากนั้นให้นิสิตไปติดต่อขอรับ user account สำหรับใช้ log in เข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ได้ที่คุณสุพจน์ ห้องทำงาน G04 (ฝั่งตรงข้ามกับสำนักงานภาควิชา) ***ในการใช้งานครั้งแรก ให้พิมพ์ password เหมือนกับ user name แล้วระบบจะแจ้งให้นิสิตเปลี่ยน password อีกครั้ง
    ***password จะมีอายุใช้งาน 1 เดือน ซึ่งระบบจะแจ้งงเตือนให้เปลี่ยน ดังนั้นเมื่อนิสิตได้รับ user account แล้ว ให้รีบนำไปใช้งานภายในระยะเวลา 1 เดือน

คำถาม: จะจบแล้วต้องดำเนินการอะไรบ้าง?

คำตอบ:

  1. เคลียร์และทำความสะอาดพื้นที่วิจัยให้เรียบร้อย
    • เครื่องแก้ว/เครื่องมือส่วนกลางของห้อง ให้นำกลับไปไว้ที่สวนกลางของห้องให้เรียบร้อย
    • สารเคมีและตัวอย่างที่ได้จากงานวิจัยของนิสิต ต้องระบุว่าเหลือสารเคมีอะไร ปริมาณเท่าใด และจะจัดการอย่างไรต่อไป(เช่น โอนให้ผู้อื่น, ส่งกำจัด, ดำเนินการคืนแก่ผู้ให้การสนับสนุนงานวิจัย เป็นต้น) สารตัวอย่างที่สังเคราะห์ขึ้นไม่ควรเก็บไว้ ต้องทิ้งให้ถูกต้องตามวิธีจัดทิ้งของเสีย ถ้าจำเป็นต้องเก็บไว้ ให้ระบุรายละเอียดของสารตัวอย่างที่สังเคราะห์ขึ้นให้ครบถ้วน(เช่น สารที่ใช้สังเคราะห์สารตัวอย่าง, ปฏิกิริยาที่ใช้ ชื่องานวิจัย, ชื่อนิสิตที่สังเคราะห์และปีที่นิสิตจบการศึกษา, เบอร์โทรติดต่อผู้เกี่ยวข้อง, ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย เป็นต้น)
  2. คืนเครื่องแก้ว/เครื่องมือ/ครุภัณฑ์ ที่ยืมให้ครบถ้วนทุกห้องปฏิบัติการ/วิจัยของภาควิชา ตามเอกสาร ScFM-CT-04-005-E
    • ให้เจ้าหน้าที่ลงชื่อกำกับ พร้อมทั้งเขียน “ไม่มีการยืมครุภัณฑ์/วัสดุ” ถ้าไม่มีการยืมครุภัณฑ์/วัสดุ จากห้องปฏิบัติการ/วิจัยนั้น
    • ให้เจ้าหน้าที่ลงชื่อกำกับ แล้วให้นิสิตนำส่ง หัวหน้าห้องปฏิบัติการลงชื่อ ถ้ามีการยืมครุภัณฑ์/วัสดุ จากห้องปฏิบัติการ/วิจัยนั้น และคืนเรียบร้อยแล้ว
  3. คืนสิทธิ์การใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ หลังจากเคลียร์และทำความสะอาด โดยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆต้องมีสภาพสมบูรณ์เหมือนก่อนยืม ตามแบบฟอร์ม ScFM-CT-05-001-E
    • คืนตู้/ลิ้นชักเก็บสารเคมี ให้เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ/วิจัยลงชื่อรับคืน
    • คืนโต๊ะและกุญแจโต๊ะทำงาน ให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลห้องพักนิสิตลงชื่อรับคืน
    • คืนตู้เก็บของ ให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลลงชื่อรับคืนบคืน
    • คืนบัตรเข้าออกจากภาควิชา ให้เจ้าหน้าที่สำนักงานลงชื่อรับคืน
    • ***รายการเอกสารที่เจ้าหน้าที่ถือครองเพื่อตรวจสอบรายการที่นิสิตติดค้าง***
      • ScFM-CT-04-005-C ยืมของจากห้องปฏิบัติการ(<10,000บาท)
      • ScFM-CT-04-005-C ยืมของจากห้องปฏิบัติการ(>10,000บาท)
      • ScFM-CT-04-005-A ยืมของห้องปฏิบัติการ/วิจัย(>1สัปดาห์)
      • ScFM-CT-05-001-B ขอใช้โต๊ะทำงาน
      • ScFM-CT-05-001-F ขอใช้ตู้เก็บสารเคมี
  4. ประสานงานบัณฑิตศึกษาจะลงชื่อให้เอกสารสมบูรณ์ เมื่อเจ้าหน้าที่ลงชื่อหลังจากตรวจสอบแล้วว่านิสิตได้ส่งข้อมูลครบถ้วน
    • นิสิต ป.โท หรือ เอก ส่งไฟล์ Abstract(ไฟล์ Microsoft Word) ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
    • นิสิตทุนฯ ส่งไฟล์ Poster งานวิจัย ขนาด A1(60x84cm) ตาม Template ของกลุ่มงานวิจัยที่กำหนด(สามารถ download ได้ที่ http://www.chemtech.sc.chula.ac.th/

คำถาม: กำหนดการอบรม safety, chemtrack, wastetrack

คำตอบ:

  1. การอบรมความปลอดภัยทางเคมี(Chemical Safety) ติดตามรายละเอียดและช่วงเวลาเปิดอบรมที่ http://chemsafe.chula.ac.th/ แล้วเลือกหัวข้อ “สมัคร/ยื่นใบคำร้อง” > “ChemTrain” > “สมัครอบรมการใช้โปรแกรม”
  2. การอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมี ติดตามรายละเอียดและช่วงเวลาเปิดอบรมที่ http://chemsafe.chula.ac.th/แล้วเลือกหัวข้อ “สมัคร/ยื่นใบคำร้อง” > “Chemtrack” > “สมัครอบรมการใช้โปรแกรม”
  3. การอบรมความปลอดภัยในการจัดการของเสีย ติดตามรายละเอียดและช่วงเวลาเปิดอบรมที่ http://chemsafe.chula.ac.th/ แล้วเลือกหัวข้อ “สมัคร/ยื่นใบคำร้อง” > “Wastetrack” > “สมัครอบรมการใช้โปรแกรม”